ไปหน้าแรก

สัพพวรรคที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 25

สัพพวรรคที่ ๓

. สัพพสูตร

ว่าด้วยทรงแสดงสิ่งทั้งปวง

[๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสิ่งทั้งปวงแก่เธอทั้งหลาย

เธอทั้งหลายจงฟังข้อนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นสิ่งทั้งปวง. จักษุ

กับรูป หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส กายกับโผฏฐัพพะ ใจกับ

ธรรมารมณ์ อันนี้เรากล่าวว่าสิ่งทั้งปวง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าว

อย่างนี้ว่า เราบอกปฏิเสธสิ่งทั้งปวง จักบัญญัติสิ่งอื่นแทน วาจาของผู้นั้น

พึงเลื่อนลอย ดุจวัตถุเทพดา แต่ครั้นถูกถามเข้า ก็ตอบไม่ได้ และจะ

อึดอัดใจยิ่งขึ้น ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร. เพราะข้อนั้นไม่ใช่วิสัย.

จบ สัพพสูตรที่

อรรถกถาสัพพสูตรที่ ๑

สัพพวรรคที่ ๓ สัพพสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สพฺพํ โว ภิกฺขเว ชื่อว่า สัพพะ มี ๔ อย่าง คือ

สัพพสัพพะ, อายตนสัพพะ, สักกายสัพพะ, ปเทสสัพพะ

ใน ๔ อย่างนั้น

สัพพะว่าอะไร ๆ ที่พระองค์ไม่เคยเห็นในโลกนี้

ย่อมไม่มี ไม่รู้สิ่งที่ไม่ควรรู้ก็ไม่มี อนึ่งพระตถาคต

ทรงรู้ยิ่งถึงเนยยะ ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด เพราะฉะนั้น

พระตถาคต จึงทรงพระนามว่า สมันตจักษุ .

ชื่อว่า สัพพสัพพะ. สัพพะ ว่า สพฺพํ โว ภิกฺขเว เทเสสฺสามิ ตํ

สุณาถ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสิ่งทั้งปวงแก่พวกเธอ พวกเธอ

จงฟังสิ่งนั้น นี้ชื่อว่า อายตนสัพพะ. สัพพะ ว่า สพฺพธมฺมมูลปริยายํ

โว ภิกฺขเว เทสิสฺสามิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมูลปริยาย

แห่งธรรมทั้งปวงแก่พวกเธอ นี้ชื่อว่า สักกายสัพพะ. สัพพะว่า สพฺพ-

ธมฺเมสุ วา ปฐมสมนฺนาหาโร อุปฺปชฺชติ จิตฺตํ มโน มานสํ

ตชฺชา มโนวิญฺญาณธาตุ หรือว่า การรวบรวมใจครั้งแรก จิต มโน

มานัส มโนวิญญาณธาตุที่เกิดแต่จิตนั้น ย่อมเกิดขึ้นในธรรมทั้งปวง นี้

ชื่อว่า ปเทสสัพพะ.

ดังนั้นเพียงอารมณ์ ๕ ชื่อว่า ปเทสสัพพะ. ธรรมอันเป็นไปใน

ภูมิ ๓ ชื่อว่า สักกายสัพพะ. ธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๔ ชื่อว่า อายตน-

สัพพะ. เนยยะ อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สัพพสัพพะ. ปเทสสัพพะ

ไม่ถึงสักกายสัพพะ, สักกายสัพพะ ไม่ถึงอายตนสัพพะ, อายตนสัพพะ

ไม่ถึงสัพพสัพพะ. เพราะเหตุไร. เพราะว่าธรรมชื่อนี้ที่ไม่เป็นอารมณ์

ของพระสัพพัญญุตญาณย่อมไม่มี. แต่ในพระสูตรนี้ ท่านประสงค์เอา

อายตนสัพพะ.

บทว่า ปจฺจกฺขาย แปลว่า ปฏิเสธ. บทว่า วาจา วตฺถุเทวสฺส

ได้แก่ พึงเป็นเพียงวัตถุที่จะพึงกล่าวด้วยวาจาเท่านั้น. พ้นอายตนะ ๑๒ นี้

ไม่อาจแสดงได้ว่า ธรรมอื่นนี้ ชื่อว่า สภาวธรรม. บทว่า ปุฏฺโฐ จ น

สมฺปาเยยฺย ความว่า เมื่อถูกถามว่าสิ่งอื่นคืออะไร ชื่อว่าสัพพะ ก็ไม่

สามารถจะตอบได้ว่าชื่อนี้. บทว่า วิฆาตํ อาปชฺเชยฺย ได้แก่ถึงความ

ลำบาก. บทว่า ตํ ในคำว่า ยถา ตํ ภิกฺขเว อวิสยสฺมึ นี้เป็นเพียง

นิบาต. บทว่า ยถา เป็นคำบ่งเหตุ อธิบายว่า เพราะเหตุที่ถูกถามใน

สิ่งที่ไม่ใช่วิสัย. ความจริงสัตว์ทั้งหลายย่อมมีความคับแค้นใจในสิ่งที่ไม่ใช่

วิสัย. การเทินศิลาประมาณเท่าเรือนยอดข้ามน้ำลึก เป็นเรื่องไม่ใช่วิสัย.

การฉุดพระจันทร์พระอาทิตย์ลงมา ก็เหมือนกัน. เมื่อพยายามในสิ่งที่มิใช่

วิสัยนั้นย่อมลำบากแท้ อธิบายว่า ต้องลำบากในสิ่งที่มิใช่วิสัยแม้นี้ ด้วย

ประการฉะนี้.

จบ อรรถกถาสัพพสูตรที่

. ปฐมปหานสูตร

ว่าด้วยทรงแสดงธรรมเพื่อละสิ่งทั้งปวง

[ ๒๕ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเพื่อละสิ่งทั้งปวง

นั้นแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังข้อนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรม

สำหรับละสิ่งทั้งปวงนั้นเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ รูป จักษุ-

วิญญาณ จักษุสัมผัส เป็นสิ่งที่ควรละ แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา

หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่

ควรละ ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส เป็นสิ่งที่ควรละ

แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส

เป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้แลเป็นธรรม

สำหรับละสิ่งทั้งปวง.

จบ ปฐมปหานสูตรที่

อรรถกถาปฐมปหานสูตรที่ ๒

ในปฐมปหานสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ .

บทว่า สพฺพํ ปหาย แปลว่า ละซึ่งสิ่งทั้งปวง. บทว่า จกฺขุ-

สมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชาติ เวทยิตํ ได้แก่เวทนาที่สัมปยุตด้วยสัมปฏิจ-

ฉันนะ สันตีรณะ โวฏฐัพพนะและชวนะ ที่เกิดขึ้นเพราะกระทำสห-

ชาตธรรมที่มีจักษุสัมผัสเป็นมูลให้เป็นปัจจัย แต่ธรรมที่สัมปยุตด้วยจักษุ-

วิญญาณไม่จำต้องกล่าวถึงเลย. แม้ในธรรมที่มีเวทนาเป็นปัจจัยมีโสตทวาร

เป็นต้นเป็นอาทิ ก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็ในที่นี้ บทว่า มโน ได้แก่ภวังคจิต.

บทว่า ธมฺมา ได้แก่อารมณ์. บทว่า มโนวิญฺญาณํ ได้แก่ชวนจิตที่

เกิดพร้อมกับอาวัชชนจิต. บทว่า มโนสมฺผสฺโส ได้แก่ผัสสะที่เกิด

พร้อมกับภวังคจิต. บทว่า เวทยิตํ ได้แก่เวทนาที่เกิดพร้อมกับชวนจิต.

แม้เวทนาที่เกิดพร้อมกับภวังคจิต ก็ย่อมเป็นไปพร้อมกับอาวัชชนจิต

เหมือนกัน. แต่ในที่นี้ เทศนาที่เป็นคำสอนต่อเนื่องกันชื่อว่า บัญญัติ.

จบ อรรถกถาปฐมปหานสูตรที่

. ทุติยปหานสูตร

ว่าด้วยทรงแสดงธรรมเพื่อละสิ่งทั้งปวง

[ ๒๖ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเพื่อรู้ยิ่งกำหนด

รู้แล้วละสิ่งทั้งปวง แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ธรรมสำหรับรู้ยิ่งกำหนดรู้แล้วละเสียซึ่งสิ่งทั้งปวงเป็นไฉน.

จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่งกำหนดรู้แล้วละเสีย

แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดเพราะจักษุสัมผัส

เป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง ควรกำหนดรู้แล้วละเสีย ฯลฯ ใจ

ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง ควรกำหนดรู้

แล้วละเสีย แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น

เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง ควรกำหนดรู้แล้วละเสีย

นี้เป็นธรรมสำหรับรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละสิ่งทั้งปวงเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อันนี้แล เป็นธรรมสำหรับรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละสิ่งทั้งปวง.

จบ ทุติยปหานสูตรที่

อรรถกถาทุติยปหานสูตรที่ ๓

ในทุติยปหานสูตรที่ ๓ นี้มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

บทว่า สพฺพํ อภิญฺญา ปริญฺญา ปหานาย ได้แก่เพื่อรู้ยิ่ง

กำหนดรู้แล้วละสิ่งทั้งปวง. บทว่า อภิญฺญา ปรริญฺญา ปหาตพฺพํ ได้แก่

รู้ยิ่งกำหนดรู้แล้วละเสีย. บทที่เหลือพึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วนั้นแล.

จบ อรรถกถาทุติยปหานสูตรที่

. ปฐมปริชานสูตร

ว่าด้วยผู้ยังไม่รู้ยิ่งย่อมละสิ่งทั้งปวงไม่ได้

[๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่ยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังไม่

คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ซึ่งสิ่งทั้งปวง ยังไม่เป็นผู้ควรสิ้นทุกข์ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวงคืออะไร. บุคคลผู้ยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้

ยังไม่คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ ยังไม่เป็นผู้ควรสิ้นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

คือ จักษุ บุคคลยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังไม่คลายกำหนัด ยังละไม่ได้

ยังไม่เป็นผู้ควรสิ้นทุกข์ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา

ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส เป็นปัจจัย

บุคคลยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังไม่คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ ก็ยัง

เป็นผู้ไม่ควรสิ้นทุกข์ หู เสียง ลิ้น รส กาย โผฏฐัพพะ ใจ ธรรมารมณ์

มโนวิญญาณ มโนสัมผัส แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา

ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย บุคคลยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังไม่

คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ ก็ยังเป็นผู้ไม่ควรสิ้นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บุคคลผู้ที่ยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังไม่คลายกำหนัด ยังไม่ละซึ่งสิ่ง

ทั้งปวงนี้ ยังเป็นผู้ไม่ควรสิ้นทุกข์.

ว่าด้วยผู้รู้ยิ่งย่อมละสิ่งทั้งปวงได้

[ ๒๘ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลผู้ที่รู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลาย

กำหนัดได้ ละได้ซึ่งสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ควรสิ้นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็สิ่งทั้งปวง คืออะไร ที่บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัดได้ ละได้

เป็นผู้ควรสิ้นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คือ จักษุ บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้

คลายกำหนัดได้ ละได้ เป็นผู้ควรสิ้นทุกข์ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส

แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุ

สัมผัสเป็นปัจจัย บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัดได้ ละได้ ก็เป็น

ผู้ควรสิ้นทุกข์ หู เสียง ลิ้น รส กาย โผฏฐัพพะ ใจ ธรรมารมณ์

มโนวิญญาณ มโนสัมผัส แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา

ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัดได้

ละได้ ก็เป็นผู้ควรสิ้นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้รู้ยิ่ง กำหนดรู้

คลายกำหนัดได้ ละได้ซึ่งสิ่งทั้งปวงนี้แล เป็นผู้ควรสิ้นทุกข์.

จบ ปฐมปริชานสูตรที่

อรรถกถาปฐมปริชานสูตรที่ ๔

ในปฐมปริชานสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ .

บทว่า อนภิชานํ อปริชานํ อวิราชยํ อปฺปชหํ ได้แก่ ไม่รู้ยิ่ง

ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายความยินดี ไม่ละ. และในที่นี้ บทว่า อวิราเชนฺโต

ได้แก่ ไม่คลายความยินดี ไม่หายหิว. ดังนั้น ในพระสูตรนี้ เป็นอันตรัส

ปริญญาแม้ทั้งสาม. จริงอยู่ ด้วยคำว่า อภิชานํ ตรัสถึงญาตปริญญา

ด้วยคำว่า ปริชานํ ตรัสถึงตีรณปริญญา ด้วยสองคำว่า วิราชยํ ปชหํ

ตรัสถึงปหานปริญญา.

จบ อรรถกถาปฐมปริชานสูตรที่

. ทุติยปริชานสูตร

ว่าด้วยผู้ยังไม่รู้ยิ่งย่อมละสิ่งทั้งปวงไม่ได้

[๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้ง ผู้ที่ยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยัง

ไม่คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ซึ่งสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ไม่ควรสิ้นทุกข์ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวง คืออะไร. บุคคลยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยัง

ไม่คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ เป็นผู้ไม่ควรสิ้นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

คือ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ ฯลฯ

ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังคลายกำหนัดไม่ได้

ยังละไม่ได้ ซึ่งสิ่งทั้งปวงนี้แล เป็นผู้ไม่ควรสิ้นทุกข์.

ว่าด้วยผู้รู้ยิ่งย่อมละสิ่งทั้งปวงได้

[ ๓๐ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลผู้รู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลาย

กำหนัดได้ ละได้ซึ่งสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ควรสิ้นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สิ่งทั้งปวง คืออะไร. ที่บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัดได้ ละได้

เป็นผู้ควรสิ้นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ รูป จักษุวิญญาณ และ

ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ

และธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลรู้ยิ่ง

กำหนดรู้ คลายกำหนัดได้ ละได้ซึ่งสิ่งทั้งปวงนี้แล เป็นผู้ควรสิ้นทุกข์.

จบ ทุติปริชานสูตรที่

อรรถกถาทุติยปริชานสูตรที่ ๕

ในทุติยปริชานสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ด้วยบทว่า จกฺขุวิญฺญาณวิญฺญาตพฺพา ธมฺมา ท่านแสดงถือเอา

เฉพาะรูปที่ถือเอาในหนหลัง หรือถือเอารูปที่ปรากฏในหนหลัง แต่ในที่นี้มี

ได้ปรากฏ แต่นี้ก็เป็นสันนิษฐานในข้อนี้. บทว่า อาปาถคตํ ได้แก่ถือ

เอารูปที่ไม่ปรากฏเท่านั้น แต่ในที่นี้หมายเอาขันธ์ ๓ ที่สัมปยุตด้วยจักษุ

วิญญาณ. ด้!!Y-,KRวยว่าขันธ์เหล่านั้น ท่านกล่าวว่า จกฺขุวิญฺญาตพฺพา

เพราะพึงรู้แจ้งพร้อมกับจักษุวิญาณ แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.

จบ อรรถกถาทุติยปริชานสูตรที่

. อาทิตตปริยายสูตร

ว่าด้วยสิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน

[ ๓๑ ] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ตำบลคยาสีสะ ริมฝั่ง

แม่น้ำคยา พร้อมกับภิกษุ ๑,๐๐๐ รูป ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสกะพระภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน คืออะไร. คือ จักษุ รูป

จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส เป็นของร้อน. แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ

อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นของร้อน

ร้อนเพราะอะไร เรากล่าวว่า ร้อนเพราะไฟ คือ ราคะ โทสะ โมหะ

ร้อนเพราะชาติ ชรา มร ะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ

อุปายา ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส. เป็นของร้อน

แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโน-

สัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร เรากล่าวว่า ร้อน

เพราะไฟ คือ ราคะ โทสะ โมหะ ร้อนเพราะชาติ ชรา มรณะ โสกะ

ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้

สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายที่ในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุ

วิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุข-

เวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในใจ

ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา

ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย

เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น

เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว

พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น

อย่างนี้มิได้มี พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว ภิกษุ

เหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็แหละเมื่อพระองค์

ได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ภิกษุ ๑,๐๐๐ รูปนั้น ต่างมีจิตหลุดพ้นจาก

อาสวะ เพราะไม่ถือมั่นดังนี้แล.

จบ อาทิตตปริยายสูตรที่

อรรถกถาอาทิตตปริยายสูตรที่ ๖

ในอาทิตตปริยายสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า คยาสีเส ความว่า จริงอยู่สระโบกขรณีแห่งหนึ่งชื่อคยาก็มี

แม่น้ำชื่อว่าคยาสีสะก็มี ศิลาดาดเช่นกับหม้อน้ำก็มี ในที่ไม่ไกลหมู่บ้าน

คยา. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในที่ที่ภิกษุพันรูปอยู่กันพอ เหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า คยาสีเส ดังนี้ . บทว่า ภิกขู อามนฺเตสิ ความว่า พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงเลือกพระธรรมเทศนาที่เป็นสัปปายะแก่ภิกษุเหล่านั้น

ตรัสเรียกว่า เราจักแสดงอาทิตตปริยายสูตรนั้น.

ในข้อนั้นมีอนุปุพพิกถาดังต่อไปนี้:-

เล่ากันมาว่า จากภัททกัปนี้ไป ๙๒ กัป ได้มีพระราชาพระองค์

หนึ่งพระนามว่า มหินทะ ท้าวเธอมีพระเชฏฐโอรสพระนามว่า ปุสสะ.

ปุสสะเชฏฐโอรสนั้นเปี่ยมด้วยบารมี เป็นสัตว์เกิดในภพสุดท้าย เมื่อญาณ

แก่กล้า เสด็จขึ้นสู่โพธิมัณฑสถานแทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณ. พระ-

กนิฏฐโอรสเป็นอัครสาวกของพระองค์ บุตรปุโรหิตเป็นทุติยสาวก. พระ-

ราชามีพระดำริว่า ลูกชายคนโตของเราออกบวชเป็นพระพุทธเจ้า ลูกคน

เล็กเป็นอัครสาวก ลูกปุโรหิตเป็นทุติยสาวก. พระองค์ให้สร้างวิหารด้วย

พระดำริว่า พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ของพวกเราทั้งนั้น ทรงล้อม

สองข้างทางด้วยไม้ไผ่ จากพระทวารตำหนักของพระองค์จนถึงซุ้มประตู

วิหาร เบื้องบนรับสั่งให้ผูกพวงของหอมพวงมาลัยที่หอมฟุ้งเป็นเพดาน

เสมือนประดับด้วยดาวทอง เบื้องล่างรับสั่งให้เกลี่ยทรายสีเหมือนเงินแล้ว

โปรยดอกไม้ ให้พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาตามบรรดานั้น.

พระศาสดาประทับยินในพระวิหารนั้นแล ทรงห่มจีวรเสด็จมายัง

พระราชมณเฑียร พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ภายในม่านทีเดียว เสร็จภัตกิจแล้ว

เสด็จกลับภายในม่านนั่นเอง. ไม่มีใครได้ถวายภัตตาหารสักทัพพี. ลำดับ

นั้น ชาวพระนครพากันโพนทะนาว่า พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลก

แต่พวกเราไม่ได้ทำบุญกันเลย ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมเกิดขึ้น

เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่คนทั้งหลายเหมือนพระจันทร์พระอาทิตย์ส่องแสง

สว่างแก่คนทั้งปวง แต่พระราชาพระองค์นี้แย่งบุญของคนทั้งหมด.

ก็พระราชานั้นมีพระโอรสอื่น ๆ ๓ พระองค์. ชาวพระนครร่วม

ปรึกษากับพระโอรสเหล่านั้นว่า ขึ้นชื่อว่าภายในกับราชตระกูลไม่มี พวก

เราจะทำอุบายอย่างหนึ่ง. ชาวพระนครเหล่านั้นได้แต่งโจรชายแดนขึ้น

ส่งข่าวสาส์นกราบทูลพระราชาว่า หมู่บ้าน ๒ - ๓ ตำบลถูกปล้น. พระ-

ราชารับสั่งให้เรียกพระโอรสทั้ง ๓ มา รับสั่งว่า ลูก ๆ ทั้งหลาย พ่อแก่แล้ว

พวกเจ้าจงไปปราบโจร แล้วส่งไป. พวกโจรที่แต่งขึ้น กระจายกันไปทาง

โน้นทางนี้แล้วมายังสำนักของพระโอรสเหล่านั้น พระโอรสเหล่านั้นให้

ชาวบ้านที่ไม่มีที่อยู่อาศัยพักอยู่ กล่าวว่า โจรสงบแล้ว ได้พากันมายืน

ถวายบังคมพระราชา.

พระราชาทรงพอพระทัย ตรัสว่า ลูก ๆ พ่อจะให้พรแก่พวกเจ้า.

พระโอรสเหล่านั้นรับพระดำรัสแล้ว ได้ไปปรึกษากับชาวพระนครว่า

พระราชาพระราชทานพรแก่พวกเรา พวกเราจะเอาอะไร. ชาวพระนคร

กล่าวว่า ข้าแต่พระลูกเจ้า ช้างม้าเป็นต้นพวกเราได้ไม่ยาก แต่พระพุทธ-

รัตนะหาได้ยาก ไม่เกิดขึ้นทุกกาล ขอท่านทั้งหลายจงรับพรคือการปฏิบัติ

พระปุสสพุทธเจ้าผู้เป็นเชฏฐภาดาของท่านทั้งหลาย. พระโอรสเหล่านั้น

รับคำชาวพระนครว่า จักกระทำอย่างนั้น จึงโกนพระมัสสุ สนานพระองค์

ตกแต่งพระองค์ ไปเฝ้าพระราชา กราบทูลขอว่า ข้าแต่พระองค์ ขอพระ-

องค์โปรดพระราชทานพรแก่พวกข้าพระองค์เถิด. พระราชาตรัสถามว่า

จักเอาอะไรเล่าลูก. พระโอรสกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ พวกข้าพระองค์

ไม่ต้องการช้างเป็นต้น ขอพระองค์ได้โปรดพระราชทานพรคือการปฏิบัติ

พระปุสสพุทธเจ้า ผู้เป็นเชฏฐภาดาของพวกข้าพระองค์เถิด. พระราชา

กระซิบที่หูทั้งสองว่า เราเมื่อยังมีชีวิตอยู่ไม่สามารถจะให้พรนี้ได้. พระ-

โอรสกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ พวกข้าพระองค์มิได้บังคับให้พระองค์

พระราชทานพร พระองค์มีความยินดีพระราชทานตามความพอพระทัย

ของพระองค์ ข้าแต่พระองค์ ควรหรือที่ราชตระกูลจะมีคำพูดเป็นสอง

ดังนี้ได้ถือเอาด้วยความเป็นผู้กล่าววาจาสัตย์.

พระราชาเมื่อกลับคำพูดไม่ได้จึงตรัสว่าลูก ๆ พ่อจักให้พวกเจ้าบำรุง

ตลอด ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน. พระโอรสกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์

ขอพระองค์โปรดประทานสิ่งที่ดีไว้เป็นประกัน. มีรับสั่งถามว่า ประกัน

ใครเล่าลูก. พระโอรสกราบทูลว่า ขอพระองค์โปรดประทานสิ่งที่ไม่ตาย

ไว้เป็นประกันตลอดกาลเท่านี้ . ตรัสว่า ลูก ๆ พวกเจ้าให้ประกันที่ไม่

ไม่ควร เราไม่อาจให้ประกันอย่างนี้ ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายเช่นกับหยาดน้ำ

ค้างที่ปลายหญ้า. พระโอรสกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ถ้าพระองค์ไม่

ประทานประกัน พวกข้าพระองค์ตายเสียในระหว่าง จักกระทำกุศลได้

อย่างไร. พระราชาตรัสว่า ลูก ๆ ถ้าเช่นนั้น พวกเจ้าจงให้ตลอด ๖ ปี.

ไม่สามารถพระเจ้าข้า. ถ้าเช่นนั้น จงให้ ๕ ปี ๔ ปี ๓ ปี ๒ ปี ๑ ปี

๖ เดือน ฯลฯ เพียงเดือนเดียว. ไม่สามารถพระเจ้าข้า. ถ้าอย่างนั้น

จงให้เพียง ๗ วัน. พระโอรสรับพระดำรัส ๗ วัน. พระราชาได้ทรงกระทำ

สักการะที่ควรจะทำตลอด ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน ใน ๗ วันเท่านั้น.

ต่อแต่นั้น พระราชามีรับสั่งให้ตกแต่งมรรคากว้าง ๘ อุสภะ เพื่อ

ส่งพระศาสดาไปยังที่อยู่ของพระโอรสทั้งหลาย. ตรงกลางทรงใช้ช้างย่ำที่

ประมาณ ๔ อุสภะ ทำเหมือนวงกสิณเกลี่ยทรายแล้วโปรยดอกไม้. ในที่

นั้น ๆ ตั้งต้นกล้วยและหม้อน้ำมีน้ำเต็ม ให้ยกธงชายธงประฏาก. ทุกๆ อุสภะ

ให้ขุดสระโบกขรณีไว้. กาลต่อมา ให้ปลูกร้านของหอมมาลัยและดอกไม้ไว้

สองข้างทาง. ตรงกลางสองข้างทางของมรรคาซึ่งตกแต่งแล้วกว้าง ๔ อุสภะ

ให้นำตอและหนามออกแล้วติดโคมไฟไว้ตามทางซึ่งกว้างชั่วสองอุสภะ. แม้

พระราชโอรส ก็ให้ตกแต่งทาง ๑๖ อุสภะ ในที่ที่ตนมีอำนาจ อย่างนั้น

เหมือนกัน. พระราชาเสด็จไปเขตคันนาของสถานที่พระองค์มีอำนาจ

ถวายบังคมพระศาสดาพลางรำพันตรัสว่า ลูก ๆ พวกเจ้าเหมือนควักตาขวา

ของเราไป แต่พวกเจ้ารับอย่างนี้ไปแล้ว พึงกระทำให้สมควรแก่พระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย อย่าเที่ยวประมาทเหมือนนักเลงสุรา. พระราชโอรสเหล่านั้น

กราบทูลว่า ข้าพระองค์จักทราบพระเจ้าข้าแล้วพาพระศาสดาไป ให้สร้าง

วิหารมอบถวายแด่พระศาสดา ปรนนิบัติพระศาสดาในที่นั้น ตั้งอยู่ใน

อาสนะของภิกษุผู้เถระโดยกาล ในอาสนะของภิกษุเป็นมัชฌิมโดยกาล

ในอาสนะของภิกษุผู้เป็นสังฆนวกะ ทานของชนทั้ง ๓ สำรวจทานแล้ว

ก็เป็นทานอันเดียวกันนั่นแล. พระราชโอรสเหล่านั้น เมื่อจวนเข้าพรรษา

จึงคิดกันว่า พวกเราจะถือเอาอัธยาศัยของพระศาสดาอย่างไรหนอ.

ลำดับนั้นพระราชโอรสเหล่านั้นได้มีพระดำริอย่างนี้ว่า ขึ้นชื่อว่า

พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้หนักในธรรม ไม่หนักในอามิส. พวกเราตั้งอยู่

ในศีลแล้วจักอาจยึดอัธยาศัยของพระศาสดาได้ พวกเขาให้เรียกพวกมนุษย์

ผู้จำแนกทานมากล่าวว่า พ่อทั้งหลาย พวกท่านจงจัดข้าวยาคูภัตรและ

ของเคี้ยวเป็นต้น ถวายทานโดยทำนองนี้แหละ แล้วตัดกังวลในการจำแนก

ทาน.

ลำดับนั้น บรรดาราชกุมารเหล่านั้น เชฏฐภาดาพาบุรุษ ๕๐๐ คน

ตั้งอยู่ในศีล ๑๐ ครองผ้ากาสายะ ๒ ผืน บริโภคนำที่สมควร ครองชีพอยู่.

ราชโอรสองค์กลางเป็นคฤหัสถ์ ราชโอรสองค์สุตท้องปฏิบัติเหมือนอย่างนั้น

พร้อมกับบุรุษ ๒๐๐ คน. เขาบำรุงพระศาสดาตลอดชีวิต. พระศาสดา

เสด็จปรินิพพานในสำนักของเขาเหล่านั้นเอง.

ราชโอรสแม้เหล่านั้นทิวงคตแล้ว ตั้งแต่น้นั ไป ๙๒ กัป ท่องเที่ยว

ไปจากมนุษยโลกสู่เทวโลก จากเทวโลกสู่มนุษยโลก ในสมัยพระศาสดา

ของพวกเรา จุติจากเทวโลกบังเกิดในมนุษยโลก. มหาอำมาตย์เป็นโฆสก

ในโรงทานของเขาเหล่านั้น บังเกิดเป็นพระเจ้าพิมพิสาร ราชาแห่งชน

ชาวอังคะและมคธ. ชนเหล่านั้นบังเกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาล ใน

แคว้นของพระเจ้าพิมพิสารนั่นเอง. เชฏฐภาดาเกิดเป็นคนพี่ ราชโอรส

องค์กลางและองค์สุดท้องเกิดเป็นคนกลางและคนสุดท้องนั่นเอง ฝ่ายมนุษย์

ผู้เป็นบริวารของราชโอรสเหล่านั้นเกิดเป็นมนุษย์บริวารนั่นเอง. ชนทั้ง ๓

นั้น ครั้นเจริญวัยแล้ว พาบุรุษ ๑,๐๐๐ คน ออกบวชเป็นดาบส อยู่ริมฝั่ง

แม่น้ำแขวงอุรุเวลาประเทศ. ชาวอังคะและมคธนำสักการะเป็นอันมาก

ถวายแก่ดาบสเหล่านั้นทุก ๆ เดือน.

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ของเราทั้งหลาย เสด็จออกอภิเนษกรมณ์

บรรลุสัพพัญญุตญาณโดยลำดับ แล้วทรงประกาศพระธรรมจักร

อันประเสริฐ ทรงแนะนำกุลบุตร มียสะเป็นต้น ทรงส่งพระอรหันต์ ๖๐ รูป

ไปในทิศทั้งหลายเพื่อแสดงธรรม ทรงถือบาตรและจีวรด้วยพระองค์เอง

แล้วเสด็จไปยังอุรุเวลาประเทศด้วยตั้งพระทัยว่า จักทรมานชฏิล ๓ พี่น้อง

ชายเหล่านั้น ทรงทำลายทิฏฐิของชฎิลเหล่านั้น ด้วยปาฏิหาริย์หลายร้อย

แล้วให้เขาเหล่านั้นบรรพชา พระองค์ทรงพาสมณะ ๑,๐๐๐ ผู้ทรงบาตรและ

จีวรอันสำเร็จด้วยฤทธิ์ ไปยังคยาสีสประเทศ อันสมณะเหล่านั้น แวดล้อม

แล้วประทับนั่ง พลางทรงพระดำริว่า ธรรมกถาอะไรหนอ จักเป็นที่สบาย

แก่ชนเหล่านี้ จึงตกลงพระทัยว่า ชนเหล่านี้บำเรอไฟทั้งเวลาเย็นและค่ำ

เราจักแสดงอายตนะ ๑๒ แก่พวกเขา ทำให้เป็นดุจไฟไหม้ลุกโซน

ชนเหล่านี้จักสามารถบรรลุพระอรหัตด้วยอาการอย่างนี้ ลำดับนั้น พระองค์

ได้ตรัสอาทิตตปริยายสูตรนี้ เพื่อแสดงธรรมแก่ชนเหล่านั้น โดยปาฏิหาริย์

หลายร้อย ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ภิกฺขู อามนฺเตสิ อธิบายว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเลือกพระธรรมเทศนาอันเป็นสัปปายะ ของชน

(ชฎิล) เหล่านั้น จึงตรัสเรียก ด้วยหมายจะทรงแสดงอาทิตตปริยาย

สูตรนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาทิตฺตํ แปลว่าอันไฟติดแล้ว ลุกโชน

แล้ว คำที่เหลือ มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. ตรัสทุกขลักษณะไว้ในพระสูตรนี้

ด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถาอาทิตตปริยายสูตรที่

. อันธภูตสูตร

ว่าด้วยสิ่งทั้งปวงเป็นสิ่งมืดมน

[ ๓๒ ] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ พระวิหารเวฬุวัน

กลันทกนิวาปสถาน กรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้

ตรัสกะภิกษุทูลหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นสีมืดมน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวงที่เป็นสิ่งมืดมน คืออะไร. คือ จักษุ

รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส เป็นสิ่งมืดมน แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา

หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่ง

มืดมน มืดมนเพราะอะไร. เรากล่าวว่า มืดมนเพราะชาติ ชรา มรณะ

โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโน-

วิญญาณ มโนสัมผัส เป็นสิ่งมืดมน แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ

อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งมืดมน

มืดมนเพราะอะไร. เรากล่าวว่า มืดมนเพราะชาติ ชรา มรณะ โสกะ

ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้

ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งใน

จักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ท้งั ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขม-

สุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายทั้ง

ในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งใน

สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโน-

สัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด.

จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว

รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว

กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไวยากรณ์

ภาษิตนี้จบลงแล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ก็แหละเมื่อพระองค์ได้ตรัสไวยากรณ์ภาบิตนี้อยู่ ภิกษุเหล่านั้น

ต่างมีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น ดังนี้แล.

จบ อันธภูตสูตรที่

อรรถกถาอันธภูตสูตรที่ ๗

ในอันธภูตสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

บทว่า อนฺธภูตํ ความว่า ครอบงำ ท่วมทับ อธิบายว่า ขัดขวาง

แล้ว. ในพระสูตรแม้นี้ ตรัสเฉพาะทุกขลักขณะเท่านั้น.

จบ อรรถกถาอันธภูตสูตรที่

. สารุปปสูตร

ว่าด้วยทรงแสดงข้อปฏิบัติอันสมควรแก่การเพิกถอนสิ่งทั้งปวง

[ ๓๓ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงข้อปฏิบัติอันสมควรแก่

การเพิกถอนซึ่งความสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยตัณหามานะทิฏฐิแก่เธอทั้งหลาย

เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อ

ปฏิบัติอันสมควรแก่การเพิกถอนซึ่งความสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยตัณหา มานะ

และทิฏฐิเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมไม่สำคัญ

ซึ่งจักษุ ย่อมไม่สำคัญในจักษุ ย่อมไม่สำคัญแต่จักษุ ย่อมไม่สำคัญว่า

จักษุของเรา ย่อมไม่สำคัญซึ่งรูป ในรูป แต่รูปว่า รูปของเรา ย่อมไม่

สำคัญซึ่งจักษุวิญญาณ ในจักษุวิญญาณ แต่จักษุวิญญาณว่า จักษุวิญญาณ

ของเรา ย่อมไม่สำคัญจักษุสัมผัส ในจักษุสัมผัส แต่จักษุสัมผัสว่า จักษุ-

สัมผัสของเรา ย่อมไม่สำคัญสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา

ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ในเวทนานั้น แต่เวทนานั้นว่า

เวทนานั้นเป็นของเรา ฯลฯ ย่อมไม่สำคัญซึ่งใจ ในใจ แต่ใจว่า ใจของเรา

ย่อมไม่สำคัญซึ่งธรรมารมณ์ ในธรรมารมณ์ แต่ธรรมารมณ์ว่า ธรรมารมณ์

ของเรา ย่อมไม่สำคัญซึ่งมโนวิญญาณ ในมโนวิญญาณ แต่มโนวิญญาณว่า

มโนวิญญาณของเรา ย่อมไม่สำคัญซึ่งมโนสัมผัส ในมโนสัมผัส แต่มโน-

สัมผัสว่า มโนสัมผัสของเรา ย่อมไม่สำคัญในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ

อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ในเวทนานั้น แต่

เวทนานั้นว่า เวทนานั้นเป็นของเรา ย่อมไม่สำคัญซึ่งสิ่งทั้งปวง ในสิ่ง

ทั้งปวง แต่สิ่งทั้งปวงว่า สิ่งทั้งปวงเป็นของเรา บุคคลผู้ไม่สำคัญอยู่อย่างนี้

ย่อมไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่น ย่อมไม่สะดุ้งกลัว เมื่อไม่

สะดุ้งกลัว ย่อมดับสนิทได้เฉพาะตนทีเดียว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหม-

จรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้

มิได้มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้แล คือ ข้อปฏิบัติที่ควรแก่การเพิกถอน

ซึ่งความสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยตัณหา มานะ และทิฏฐิ.

จบ สารุปปสูตรที่

อรรถกถาสารุปปสูตรที่ ๘

ในสารุปปสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สพฺพมญฺญิตสมุคฺฆาตสารุปฺปํ ความว่า สมควร

แก่ข้อปฏิบัติอันจะเพิกถอนความสำคัญด้วยตัณหา มานะและทิฏฐิทั้งหมด

บทว่า อิธ ได้แก่ ในพระศาสนานี้. บทว่า จกฺขุ น มญฺญติ ความว่า

ย่อมไม่สำคัญจักษุว่า เรา ว่าของเรา หรือว่า ผู้อื่น ของผู้อื่น บทว่า

จกฺขุสฺมึ น มญฺญติ ความว่า ย่อมไม่สำคัญว่าเรามีความกังวลในจักษุ

คือมีความกังวลด้วยกิเลสเครื่องกังวลในจักษุของเรามีความกังวลด้วยกิเลส

เครื่องกังวลในจักษุของผู้อื่น. บทว่า จกฺขุโต น มญฺญติ ความว่า

ย่อมไม่สำคัญแม้อย่างนี้ว่า เราปราศจากจักษุ คือความกังวลด้วยกิเลส

เครื่องกังวล เราปราศจากจักษุ ปราศจากจักษุของผู้อื่น คือความกังวลด้วย

กิเลสเครื่องกังวลปราศจากจักษุของผู้อื่น อธิบายว่า ไม่ทำความสำคัญ

ด้วยตัณหามานะและทิฏฐิ แม้อย่างหนึ่งให้เกิดขึ้น. บทว่า จกฺขุ เมติ

น มญฺญติ ความว่า ไม่สำคัญว่าจักษุของเรา อธิบายว่า ไม่ทำความ

สำคัญด้วยตัณหาอันเป็นอัตตาของเรา ให้เกิดขึ้น. คำที่เหลือง่ายทั้งนั้น

ดังนี้แล. ในพระสูตรนี้ ตรัสวิปัสสนาให้บรรลุพระอรหัตในฐานะ ๑๔๔.

จบ อรรถกถาสารุปปสูตรที่

. ปฐมสัปปายสูตร

ว่าด้วยทรงแสดงข้อปฏิบัติอันเป็นที่สบายแก่การเพิกถอนสิ่งทั้งปวง

[ ๓๔ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงข้อปฏิบัติอันเป็นที่สบาย

แก่การเพิกถอนซึ่งความสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยตัณหามานะและทิฏฐิแก่เธอ

ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อปฏิบัติ

อันเป็นที่สบายแก่การเพิกถอนซึ่งความสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยตัณหามานะและ

ทิฏฐิเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมไม่สำคัญ

ซึ่งจักษุ ในจักษุ แต่จักษุ ว่าจักษุของเรา ย่อมไม่สำคัญรูป ย่อมไม่สำคัญ

จักษุวิญญาณ ย่อมไม่สำคัญซึ่งจักษุสัมผัส ย่อมไม่สำคัญซึ่งสุขเวทนา

ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส. เป็นปัจจัย ใน

เวทนานั้น แต่เวทนานั้น ว่า เวทนานั้นเป็นของเรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เพราะสิ่งใดที่ตนสำคัญไว้ เป็นที่ให้สำคัญ เป็นแดนให้สำคัญ เป็นเหตุให้

สำคัญว่า เป็นของเรา สิ่งนั้นล้วนเปลี่ยนแปลงออกไปจากที่สำคัญนั้น คือ

สัตว์ในภพก็มีความเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น สัตว์โลกย่อมเพลิดเพลิน

เฉพาะภพเท่านั้น ฯลฯ ย่อมไม่สำคัญซึ่งใจ ในใจ แต่ใจ ว่าใจของเรา

ย่อมไม่สำคัญซึ่งธรรมารมณ์ในธรรมารมณ์ แต่ธรรมารมณ์ ว่าธรรมารมณ์

ของเรา ย่อมไม่สำคัญซึ่งมโนวิญญาณ ในมโนวิญญาณ แต่มโนวิญญาณ ว่า

มโนวิญญาณของเรา ย่อมไม่สำคัญซึ่งมโนสัมผัส ในมโนสัมผัส แต่มโน-

สัมผัส ว่า มโนสัมผัสของเรา ย่อมไม่สำคัญซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา

หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ในเวทนานั้น

แต่เวทนานั้น ว่า เวทนานั้นเป็นของเรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลนั้น

ย่อมไม่สำคัญซึ่งขันธ์ ธาตุและอายตนะ ในขันธ์ ธาตุและอายตนะ แต่ขันธ์

ธาตุและอายตนะ ว่า ขันธ์ ธาตุและอายตนะเป็นของเรา บุคคลรู้ไม่สำคัญ

อยู่อย่างนี้ ย่อมไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่น ย่อมไม่สะดุ้งกลัว

เมื่อไม่สะดุ้งกลัว ย่อมดับสนิทได้เฉพาะตนทีเดียว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว

พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำ เสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น

อย่างนี้มิได้มี ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้แล คือ ข้อปฏิบัติอันเป็น

ที่สบายแก่การเพิกถอนซึ่งความสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยตัณหามานะและทิฏฐิ.

จบ ปฐมสัปปายสูตรที่

อรรถกถาปฐมสัปปายสูตรที่ ๙

ในสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สมุคฺฆาตสปฺปายา ได้แก่ เป็นอุปการะแก่การเพิกถอน.

บทว่า ตโต ตํ โหติ อญฺญถา ความว่า สิ่งนั้นย่อมเป็นโดยอาการอื่น

จากที่สำคัญนั้น. บทว่า อญฺญถาภาวี ภวสตฺโต โลโก ภวเมว

อภินนฺทติ ความว่า สัตว์แม้มีความเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น ด้วยการ

เข้าถึงความเป็นอย่างอื่น คือความเปลี่ยนแปลงก็ยังติด คือข้อง คือกังวล

อยู่ในภพ สัตว์โลกนี้จึงชื่อว่าย่อมเพลิดเพลินเฉพาะภพเท่านั้น. บทว่า

ยาวตา ภิกฺขเว ขนฺธธาตุอายตนํ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลนั้น

ย่อมไม่สำคัญแม้ขันธ์ธาตุและอายตนะนี้มีประมาณเท่าใดว่า ขันธ์ทั้งหลาย

ธาตุทั้งหลาย และอายตนะ ดังนี้. ด้วยบทว่า ตมฺปิ น มญฺญติ ทรงชัก

เอาข้อที่บุคคลถือเอาในหนหลังนั่นแลมาแสดงอีก. ในพระสูตรนี้ ตรัส

วิปัสสนาให้บรรลุพระอรหัตในฐานะ ๑๔๘.

จบ อรรถกถาปฐมสัปปายสูตรที่

๑๐ . ทุติยสัปปายสูตร

ว่าด้วยทรงแสดงข้อปฏิบัติที่สบายแก่การเพิกถอนสิ่งทั้งปวง

[ ๓๕ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงข้อปฏิบัติอันเป็นที่สบาย

แก่การเพิกถอนซึ่งความสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยตัณหามานะและทิฏฐิแก่เธอ

ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติ

อันเป็นที่สบายแก่การเพิกถอนซึ่งความสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยตัณหามานะและ

ทิฏฐิเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อ

นั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ไม่เที่ยง

พระเจ้าข้า.

พ. สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร

หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.

ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ

อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เทียง.

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร

หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.

ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯลฯ

พ. ใจเที่ยงหรือไม่เที่ยง

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าเข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร

หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.

ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส เที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร

หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.

ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้

ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส

ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะ

จักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์

ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ

อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย

ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว

ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบ

แล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้

ก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้แล คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นที่สบายแก่การเพิกถอน

ซึ่งความสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยตัณหามานะและทิฏฐิ.

จบ ทุติยสัปปายสูตรที่ ๑๐

สัพพวรรคที่